วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ต่อมไพเนียล



ฮอร์โมน
ระบบฮอร์โมนหรือระบบต่อมไร้ท่อเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายอีกระบบหนึ่ง โดยการหลั่งสารเคมีที่สร้างขึ้น แล้วส่งไปตามกระแสเลือดและไปมีผลหรือไปควบคุมอวัยวะเป้าหมาย โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการเจริญเติบโต กระตุ้นหรือยับยั้ง ซึ่งออกฤทธิ์ได้โดยปริมาณเพียงเล็กน้อย

ประเภทของต่อมไร้ท่อ
1.
ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น ต่อมพาราไธรอยด์ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ และ ไอสเลตออฟแลงเกอฮานน์
2.
ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไธรอยด์ ต่อมไพเนียล อวัยวะเพศ

ต่อมไร้ท่อในร่างกายของมนุษย์ที่ควรรู้จักมีดังนี้
1.
ต่อมไพเนียล ( PINEAL GLAND ) หรือ EPIPHYSIS
2.
ต่อมใต้สมอง ( PITUITARY GLAND ) หรือ HYPHYPOSIS
3.
ต่อมไธรอยด์ ( THYROID GLAND )
4.
ต่อมพาราไธรอยด์ ( PARATHYROID GLAND )
5.
ต่อมไธมัส ( THYMUS GLAND )
6.
ต่อมหมวกไต ( ADRENAL GLAND )
7.
ไอสเลตออฟแลงเกอฮานส์ (ISLETS OF LANGERHANS ) ของตับอ่อน
8.
อัณฑะ ( TESTIS ) และรังไข่ ( OVARY )

บทบาทของฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่างๆ
ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมน
หน้าที่
ความผิดปกติ
ต่อมไพเนียล
เมลาโตมิน( MELATONIN )
ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ก่อนเข้าสู่วัยสืบพันธุ์ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ทำให้การเจริญทางเพศช้าหรือเร็วกว่าปกติ
ต่อมใต้สมองต่อมใต้สมองส่วนหน้า
GROWTH HORMONE( GH )
กระตุ้นการเจริญเติบโตโดยทั่วไปของร่างกาย

- ขาดในวัยเด็กเป็นโรค DWARFISM

- ในผู้ใหญ่เป็นโรค SIMMOND'S DISEASE

- เกินในเด็กเป็นโรค GIANTISM

- เกินในผู้ใหญ่เป็นโรค ACROMEGALY

- FOLLICLE STIMULATING HORMONE( FSH )

- เพศหญิงกระตุ้น การเจริญของ ฟอลลิเคิล

- เพศชายกระตุ้นการเจริญของหลอดสร้างอสุจิ


- LEUTEINIZING HORMONE( LH )

- ในเพศหญิงกระตุ้นการตกไข่

- ในเพศชายกระตุ้นให้อินเตอร์สติเชียนเซลล์หลั่งฮอร์โมนจึงมักเรียกว่า INTERSTITIAL CELL STIMULATING HORMONE ( ICTH )


- PROLACTIN
- กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนม


- THYROID STIMUMLATING HORMONE ( TSH )
กระตุ้นการสร้างและการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไธรอยด์


- ADRENOCORTICO TROPIC HORMONE( ACTH )
กระตุ้นการสร้างและการหลั่งฮอร์โมนจากหมวกไตชั้นนอก

ต่อมใต้สมองส่วนกลาง
MELANOCYTE STIMULATING HORMONE ( MSH )
กระตุ้นการสร้างเมลานินในสัตว์เลือดอุ่นและการเปลี่ยนสีตัวของสัตว์เลือดเย็น

ต่อมใต้สมองส่วนท้าย
OXYTOCIN
กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและการหลั่งน้ำนม


VASOPRESSIN หรือ ANTIDIURATIC HORMONE ( ADH )
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลับของน้ำที่ท่อของหน่วยไต
มีมากไปจะทำให้เป็นโรคเบาจืด
ต่อมไธรอยด์
THYROXIN
ควบคุมเมตาบอลิซึมทั่วไปของร่างกายและควบคุมเมตามอโฟซิสของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ขาดในเด็กเป็นโรค CRITINISMขาดในผู้ใหญ่เป็นโรค MYXEDEMA

CALCITONIN
ทำให้ Ca2+ สะสมในกระดูกและลด Ca2+ ในปัสสาวะ

ต่อมพาราไธรอยด์
PARATHORMONE
เพิ่มระดับ Ca2+ ในเลือดทำงานตรงข้ามกับคัลซิโตนิน

ISLETS OF LANGERHANS ของตับอ่อน
-Beta CELLS
INSULIN
ทำให้เซลล์นำกลูโคสไปใช้ได้ดีขึ้น และกระตุ้นการสร้างไกลโคเจน
ถ้าขาดจะเป็นโรคเบาหวาน
-Alfa CELLS
GLUCAGON
ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน โดยสลายไกลโคเจนเป็นกลูโคส

ต่อมหมวกไต
- ADRENAL CORTEX
MINERALOCORTICOIDS( ที่สำคัญคือ ALDOSTERONE )
ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่และควบคุมการดูดกลับ Na+ และ K+ ที่ไต


GLUCOCORTICOIDS ( ที่สำคัญคือ CORTISOL )
เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมการดูดกลับ Na+ และ K+ ที่ไต

ฮอร์โมนเพศ เช่น แอนโดรเจนและ เอสโตรเจน
ควบคุมการเจริญเติบโตทางเพศขั้นที่ 2


- ADRENAL MEDULLA
ADRENAKIN หรือ EPINEPHRIN
เพิ่มกลูโคสในเลือดและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ


NORADRENALIN หรือ NOREPINEPHRIN
เพิ่มกลูโคสในเลือดและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ

อวัยวะเพศ
- TERTIS
ANDROGEN เช่น TESTOSTERONE
ควบคุมการเจริญของลักษณะเพศชาย ควบคุมการสร้างอสุจิ

- FOLLICLE
ESTROGEN
ควบคุมการเจริญลักษณะเพศหญิงและกระตุ้นการหลั่ง LH

- CORPUS LUTELUM
PROGESTERONE
ควบคุมการเจริญของผนังมดลูกและรักษาสภาพการตั้งครรภ์

อวัยวะอื่นๆ
- รก
HUMAN CHORIONICGONADOTROPHIN( HCG )
กระตุ้นคอร์ปัสลูเตียมทำให้โปรเจสเตอโรนสูงขึ้นและรักษาสภาพการตั้งครรภ์

- กระเพาะอาหาร
GASTRIN
กระตุ้นการหลั่งกรดเกลือและน้ำย่อยต่างๆ

- ลำไส้เล็ก
SECRETIN
กระตุ้นตับอ่อนหลั่งน้ำย่อยและตับหลั่งน้ำดี

การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนมี 3 วิธี
1.
ควบคุมโดยกระบวนการย้อนกลับ ( FEEDBACK CONTROL)
*
โดยฮอร์โมน 2 ชนิดควบคุมซึ่งกันและกัน
*
โดยปริมาณของตัวเอง ถ้ามีปริมาณมากจะยับยั้งการหลั่งของตัวเอง
2.
ควบคุมโดยระบบประสาท
3.
ควบคุมโดยระดับของสารบางชนิดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดระดับของ Ca2+ เป็นต้น

ฟีโรโมน ( PHEROMONE )
หมายถึง สารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้น เมื่อหลั่งออกมาภายนอกร่างกายแล้วจะมีผลต่อสัตว์ตัวอื่นซึ่งเป็นชนิดดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีระเฉพาะอย่างได้
การรับฟีโรโมนมีได้ 3 ทาง คือ
1.
ทางกลิ่น
*
สารที่ชะมดสร้างขึ้นบริเวณใกล้อวัยวะสืบพันธุ์
*
สารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเพื่อล่อให้ตัวผู้มาสืบพันธุ์
2.
ทางการกิน
*
สารที่สร้างจากต่อมบริเวณรยางค์ปากของราชินีผึ้งเพื่อให้ผึ้งงานกิน
3.
โดยการดูดซึม
*
แมลงสาบ , แมงมุม ตัวเมียสร้างขึ้นเมื่อตัวผู้มาสัมผัสจะตามไปจนพบและผสมพันธุ์กัน
*
ตั๊กแตนตัวผู้ ปล่อยสารทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสเข้าจะกระตุ้นให้เจริญเป็นตัวเต็มวัย
จุดประสงค์ของการหลั่งของฟีโรโมน
1.
บอกตำแหน่ง
2.
บอกอาณาเขต
3.
เตือนภัย
การนำมาใช้
1.
นำมาทำน้ำหอม
2.
นำมาทำสารล่อแมลง

ฮอร์โมนพืช ( PLANT HORMONE )
1.
ออกซิน ( AUXIN ) หรือ INDOLE ATCETIC ACID ( IAA ) เป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างขึ้นจากเนื้อเยื่อบริเวณยอดอ่อนหรือรากอ่อน มีบทบาท ดังนี้
*
กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์โดยทั่วๆ ไป
*
ยับยั้งการเจริญของตาข้าง
*
ทำให้เกิดการเจริญของรังไข่เป็นผลโดยไม่ต้องปฏิสนธิ ( PARTHENOCARPIC FRUIT )
*
ชะลอการหลุดร่วงของใบ
*
กระตุ้นการงอกของราก
*
ใช้ในปริมาณความเข้มข้นสูงๆ เป็นยาปราบวัชพืช เช่น 2 , 4 - D เป็นต้น

2.
จิบเบอเรลลิน ( GIBBERELLIN ) หรือ GIBBERELLIC ACID สร้างจากต้นอ่อนมีบทบาทดังนี้
*
กระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์ของลำต้นโดยเฉพาะระหว่างข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
*
กระตุ้นการงอกของเมล็ด
*
กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
*
ช่วยในการยืดช่อองุ่นทำให้ผลมีขนาดโตขึ้น

3.
ไซโตไคนิน ( CYTOKININ ) สร้างจากราก มีบทบาทดังนี้
*
กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืชและช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกระบวนการเจริญเติบโต
*
ยืดอายุผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวทำให้สดอยู่นาน
*
เร่งการงอกของเมล็ด
*
เร่งการเจริญของตาข้าง

4.
กรดแอบไซซิก ( ABCISIC ACID ) สร้างจากใบและตา มีบทบาทดังนี้
*
ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทำให้แคระแกร็น
*
ทำให้เกิดการพักตัวของตาและเมล็ด
*
กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ , ผล , ดอก

5.
ก๊าซเอธีลีน ( ETHYLENE ) สร้างจาดชกเนื้อเยื่อของพืชมีมากในผลไม้สุก มีบทบาทดังนี้
*
เร่งการสุกของผลไม้
*
กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผล
*
กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
*
ช่วยในการงอกของเมล็ด